ปี ค.ศ. 2020 ปีนี้ เป็นปีที่เดือนกุมภาพันธ์ มี 29 วัน ไม่ใช่ 28 วัน ซึ่งหลาย ๆ คนที่เกิดในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ก็จะได้ฉลองวันเกิดกันจริง ๆ สักที หลังจากที่รอมานานถึง 4 ปี หากใครที่มีความสงสัยในเรื่องนี้เช่นเดียวกัน มาไขข้อข้องใจไปพร้อมกันเลย !

ต้นกำเนิดเดือนกุมภาพันธ์

เริ่มมาตั้งแต่ยุคอาณาจักรโรมันรุ่งเรือง จูเลียส ซีซาร์ แห่งโรมันที่ 46 ซึ่งเป็นบุคคลที่ทำการปรับเปลี่ยนปฏิทินใหม่ เนื่องจากปฏิทินแบบเก่านับเดือนตามข้างขึ้นข้างแรม ซึ่งใน 1 ปี มี 10 เดือน รวมเป็นวันทั้งหมด 304 วัน เป็นเดือน Martius, Aprilis, Maius, Junius, Quintilis, Sextilis, September, October, November และ December เทียบกันแล้วก็คือ มีนาคม ถึง ธันวาคม แบบเดียวกับในปัจจุบันนั่นเอง แต่จะมีบางปีที่ทดเดือนพิเศษเข้ามาเพื่อให้มีวันใกล้เคียงตามสุริยคติ แต่ทางด้านจูเลียส ซีซาร์ รู้สึกว่ามีความไม่เหมาะสม จึงเพิ่มเดือนเข้าไป 2 เดือน นั่นก็คือ January และ February เทียบเป็นแบบปัจจุบัน คือ มกราคมและกุมภาพันธ์ ทั้งนี้ได้มีการเปลี่ยนชื่อจาก ปฏิทินโรมัน เป็น ปฏิทินจูเลียน (Julian calendar)

ในช่วงแรกของการเปลี่ยนปฏิทิน กำหนดให้แต่ละเดือนมี จำนวน 30 และ 31 วันคละกันไป ยกเว้นให้เดือนกุมภาพันธ์ มี 29 วัน แต่ก็ยังมีการยกเว้นในปีที่เป็น อธิกสุรทิน ปีที่ปฏิทินมี 366 วัน ก็จะให้กุมภาพันธ์มี 30 วัน และในอดีตเดือนสิงหาคม มีเพียง 30 วัน ส่วนเดือนกรกฎาคม หรือQuintilis ได้ถูกปรับเปลี่ยนให้เป็น July สอดรับกับชื่อของจูเลียส ซีซาร์ เพื่อเป็นเกียรติให้กับเดือนเกิดของตัวเขา

การปรับเปลี่ยนวันในเดือนกุมภาพันธ์

ปฏิทินจูเลียน กำหนด 1 ปี มี 12 เดือน และให้เดือนกุมภาพันธ์ มี 29 สลับกับ 30 วัน จนมาถึงยุคของ ออกัสตัส ซีซาร์ ลูกบุญธรรมของ จูเลียส ซีซาร์ ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ จึงทำให้ปฏิทินจูเลียนเกิดการปรับเปลี่ยนขึ้นอีกครั้ง เนื่องจากพระเจ้า ออกัสตัส อยากมีเดือนเกิดเพื่อเป็นเกียรติแก่ตัวเอง จีงได้เปลี่ยน ชื่อเดือน Sextilis ซึ่งเป็นเดือนเกิดของตนเป็นชื่อ August และยังเห็นว่าเดือนนี้มีเพียง 30 วัน

ซึ่งการมีจำนวนเลขคู่นั้นถือเป็นเรื่องโชคร้าย จึงไปดึงวันจากเดือนเกิดใหม่อย่างเดือนกุมภาพันธ์มาใส่ให้เดือนสิงหาคม ดังนั้นเดือนสิงหาคมจึงมี 31 วัน และทำให้เดือนกุมภาพันธ์เหลือพียงแค่ 28 วัน กับ 29 วันในปีอธิกสุรทินอย่างที่เราเห็นในปฏิทินปัจจุบันนั่นเอง

Augustus von Prima Porta (20-17 v. Chr.), aus der Villa Livia in Prima Porta, 1863

ทำไมต้องรอถึง 4 ปี จึงจะมี 29 กุมภาพันธ์

ถึงอย่างนั้นปฏิทินจูเลียน ก็ยังไม่ใช่ปฏิทินที่ใช้มาถึงปัจจุบัน เพราะปฏิทินจูเลียนยังพบจุดบกพร่อง เนื่องจากในปีคริสตศักราชที่ 1582 มีการค้นพบว่า โลกไม่ได้ใช้เวลา 1 ปีหมุนรอบดวงอาทิตย์ 365.25 วัน หรือเท่ากับ 365 วัน 6 ชั่วโมง แต่ถูกค้นพบว่าการโคจรอยู่ที่ 365.2425 วันต่อ 1 ปี หรือเท่ากับ 365 วัน 5 ชั่วโมง 48 นาที 45 วินาที ซึ่งใกล้เคียงกับของเดิม เท่ากับว่า หากใช้ปฏิทินจูเลียนไปครบ 134 ปี จะทำให้มีวันงอกเกินออกมา 1 วัน

ต่อมาจึงได้เกิดการปรับเปลี่ยนปฏิทินขึ้นใหม่อีกครั้ง เรียกว่า ปฏิทินเกรโกเรียน (Modern Gregorian Calendar) โดยพระสันตปาปาเกรโกรีที่ 13 เป็นผู้ประกาศใช้และเริ่มใช้ในปีเดียวกัน

ปฏิทินเกรโกเรียนให้การปรับปรุงปฏิทินนี้มีผลย้อนหลัง โดยจำนวนวันหายไปสิบวัน ปีล่าสุดที่ถูกปรับคือ ค.ศ. 1900 และหลังจากนั้นมายังไม่มีการปรับอีกเลย กล่าวคือปฏิทินจูเลียนและเกรโกเรียนในปัจจุบันเดินตรงกันแล้ว

การคำนวณปีที่มีวันที่ 29 กุมภาพันธ์

นำตัวเลขคริสตศักราชตั้ง แล้วหารด้วย 4 ถ้าหารแล้วลงตัวพอดีไม่มีเศษ หรือทศนิยม แสดงว่าเดือนกุมภาพันธ์ปีนั้น มี 29 วัน เช่น ในปีนี้ คือ ปีค.ศ. 2020 ÷ 4 = 505 หารลงตัวพอดี ไม่มีเศษทศนิยม ดังนั้นปีนี้จึงมี 29 กุมภาพันธ์

ทั้งนี้ยังมีอีกหนึ่งวิธี ที่ไม่ต้องคำนวณ ให้จำเป็นปีนักษัตรที่ 1 5 และ 9 ซึ่งก็คือ ปีชวด (หนู) ปีมะโรง (มังกร) และปีวอก (ลิง) ทั้งปี 3 นักษัตรนี้ เดือนกุมภาพันธ์จะมี 29 วัน